เอดการ์ เดล (Edgar Dale) ได้จัดแบ่งสื่อการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างโสตทัศนูปกรณ์ และแสดงเป็นขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อ นำมาสร้างเป็น “กรวยประสบการณ์” (Cone of Experience ) แบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่1 ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย (Direct Purposeful Experience)
เป็นประสบการณ์ที่เป็นรากฐานของประสบการณ์ทั้งปวง
เพราะได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงได้เห็น ได้ยินเสียง
ได้สัมผัสด้วยตนเอง เช่น การเรียนจากของจริง (Real object) ได้ร่วม กิจกรรมการเรียนด้วยการลงมือกระทำ เป็นต้น
ขั้นที่ 2 ประสบการณ์จำลอง (Contrived Simulation Experience)
จากข้อจำกัดที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนจากประสบการณ์จริงให้แก่ผู้เรียน
ได้ เช่น ของจริงมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป มีความซับซ้อน มีอันตราย
จึงใช้ประสบการณ์จำลองแทน เช่น การใช้หุ่นจำลอง (Model) ของตัวอย่าง (Specimen) เป็นต้น
ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการ (Dramatized Experience) เป็น
ประสบการณ์ที่จัดขึ้นแทนประสบการณ์จริงที่เป็นอดีตไปแล้ว
หรือเป็นนามธรรมที่ยากเกินกว่าจะเข้าใจและไม่สามารถ ใช้ประสบการณ์จำลองได้
เช่น การละเล่นพื้นเมือง ประเพณีต่างๆ เป็นต้น
ขั้นที่ 4 การสาธิต (Demonstration)
คือ การอธิบายข้อเท็จจริง ความจริง
และกระบวนการที่สำคัญด้วยการแสดงให้เห็นเป็นลำดับขั้น
การสาธิตอาจทำได้โดยครูเป็นผู้สาธิต นอกจากนี้อาจใช้ภาพยนตร์
สไลด์และฟิล์มสตริป แสดงการสาธิตในเนื้อหาที่ต้องการสาธิตได้
ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)
การพานักเรียนไปศึกษายังแหล่งความรู้นอกห้องเรียน
เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนรู้หลายๆด้าน ได้แก่
การศึกษาความรู้จากสถานที่สำคัญ เช่น โบราณสถาน โรงงาน อุตสาหกรรม
เป็นต้น
ขั้นที่ 6 นิทรรศการ (Exhibition)
คือ การจัดแสดงสิ่งต่างๆ
รวมทั้งมีการสาธิตและการฉายภาพยนตร์ประกอบเพื่อให้ประสบการณ์ในการเรียนรู้
แก่ผู้เรียนหลายด้าน ได้แก่ การจัดป้ายนิทรรศการ
การจัดแสดงผลงานนักเรียน
ขั้นที่ 7 ภาพยนตร์ และโทรทัศน์ (Motion Picture and Television)
ผู้เรียนได้เรียนด้วยการเห็นและได้ยินเสียงเหตุการณ์ และเรื่องราวต่างๆ
ได้มองเห็นภาพในลักษณะการเคลื่อนไหวเหมือนจริง ไปพร้อมๆกัน
ขั้นที่ 8 การบันทึกเสียง วิทยุ และภาพนิ่ง (Recording, Radio and Picture) ได้แก่ เทปบันทึกเสียง แผ่นเสียง วิทยุ ซึ่งต้องอาศัยเรื่องการขยายเสียง ส่วนภาพนิ่ง ได้แก่ รูปภาพทั้งชนิดโปร่งแสงที่ใช้กับเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ(Overhead projector) สไลด์ (Slide) ภาพนิ่งจากคอมพิวเตอร์ และ ภาพบันทึกเสียงที่ใช้กับเครื่องฉายภาพทึบแสง(Overhead projector)
ขั้นที่ 9 ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbol)
มีความเป็นนามธรรมมากขึ้น
จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นพื้นฐาน
ในการเลือกนำไปใช้ สื่อที่จัดอยู่ในประเภทนี้ คือ แผนภูมิ แผนสถิติ
-ภาพโฆษณา การ์ตูน แผนที่ และสัญลักษณ์ต่างเป็นต้น
ขั้นที่ 10 วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbol)
เป็นประสบการณ์ขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นนามธรรมที่สุด
ไม่มีความคล้ายคลึงกันระหว่างวจนสัญลักษณ์กับของจริง ได้แก่
การใช้ตัวหนังสือแทนคำพูด
การจากกรวยประสบการณ์นี้
เดลได้จำแนกสื่อเป็น
3 ประเภท คือ
1. สื่อประเภทวัสดุ หมายถึง สื่อที่เก็บความรู้อยู่ในตัวเองจำแนกย่อยได้ 2 ลักษณะ
1.1วัสดุประเภทที่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเองไม่จำเป็นใช้อุปกรณ์อื่นช่วย เช่น แผนที่ ลูกโลก รูปภาพ
1.2วัสดุประเภทที่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเองต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วย เช่น แผ่นซีดี ฟิล์มภาพยนตร์ สไลด์
2. สื่อประเภทอุปกรณ์ หมายถึง สิ่งที่เป็นตัวกลางหรือตัวผ่านทำให้ข้อมูลถ่ายทอดออกมาให้เห็นหรือได้ยิน
3. สื่อประเภทเทคนิคและวิธีการ หมายถึง สื่อที่มีลักษณะเป็นแนวความคิดหรือรูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน
1. สื่อประเภทวัสดุ หมายถึง สื่อที่เก็บความรู้อยู่ในตัวเองจำแนกย่อยได้ 2 ลักษณะ
1.1วัสดุประเภทที่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเองไม่จำเป็นใช้อุปกรณ์อื่นช่วย เช่น แผนที่ ลูกโลก รูปภาพ
1.2วัสดุประเภทที่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเองต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วย เช่น แผ่นซีดี ฟิล์มภาพยนตร์ สไลด์
2. สื่อประเภทอุปกรณ์ หมายถึง สิ่งที่เป็นตัวกลางหรือตัวผ่านทำให้ข้อมูลถ่ายทอดออกมาให้เห็นหรือได้ยิน
3. สื่อประเภทเทคนิคและวิธีการ หมายถึง สื่อที่มีลักษณะเป็นแนวความคิดหรือรูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน